วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

30.05.2561 อำเภอตองอู หรือ ตองงู ภูมิภาค(เขต) พะโค สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา.

01. อำเภอตองอู หรือ ตองงู (Taungoo District หรือ Taungngu หรือ Toungoo) ภูมิภาค(เขต) พะโค สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา.

ตองอู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตองอู
တောင်ငူ
ตองอู is located in พม่า
ตองอู
ตองอู
สถานที่ตั้งในพม่า
พิกัดภูมิศาสตร์: 18°56′N 96°26′E
ประเทศพม่า
เขตหงสาวดี
ประชากร (2010)
 • ทั้งหมด121,000 (est.)
 • ชาติพันธุ์พม่ากะเหรี่ยง
 • ศาสนาพุทธคริสต์
เขตเวลาMST (UTC+6:30)
ตองอู หรือ ตองงู (พม่าတောင်ငူออกเสียง: [tàʊɴŋù]เตาง์งู; คำแปล: เมืองในขุนเขา) เป็นเมืองในเขตหงสาวดีประเทศพม่า อยู่ห่างจากย่างกุ้งไปทางเหนือ 220 กิโลเมตร ตั้งบนฝั่งแม่น้ำสะโตง เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอิสระตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14–16 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเข้ายึดครองระหว่างปี ค.ศ. 1942–1945
ในประวัติศาสตร์ ตองอู ถือเป็นเมืองที่เป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์พม่าในอาณาจักรที่ 2 คือ อาณาจักรตองอู ด้วยเป็นเมืองแรกที่พระเจ้าเมงจีโย ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอูได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ตรงกับคืนเดือนเพ็ญค.ศ. 1510 (ข้อมูลอย่างเป็นทางการบันทึกไว้ว่าตรงกับวันที่ 21 พฤศจิกายน) ก่อนที่ในรัชกาลถัดมา คือ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ซึ่งเป็นราชบุตร และพระเจ้าบุเรงนอง จะได้ขยายอาณาจักรลงใต้สู่หงสาวดี อันเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของชาวมอญมาก่อน
ในปี ค.ศ. 2010 ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ทำการเฉลิมฉลองการครบรอบ 500 ปี การสถาปนาเมืองตองอูอย่างเป็นทางการ[1]













***********************************************


02.ราชวงศ์ตองอู 

ราชวงศ์ตองอู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ตองอู
တောင်ငူခေတ်
จักรวรรดิ
ค.ศ. 1510–ค.ศ. 1752 

 

 

 
แผนที่จักรวรรดิตองอูช่วงรุ่งเรืองสูงสุด (1580)
เมืองหลวงตองอู (1510–39)
หงสาวดี (1539–99)
อังวะ (1599–1613)
หงสาวดี (1613–35)
อังวะ (1635–1752)
ภาษาทางการ
ภาษาพม่า
ศาสนาทางการ
พุทธศาสนาเถรวาท
รัฐบาลราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์
 - ค.ศ. 1530–50พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
 - ค.ศ. 1550–81พระเจ้าบุเรงนอง
 - ค.ศ. 1605–28พระเจ้าอโนเพตลุน
 - ค.ศ. 1629–48พระเจ้าทาลุน
 - ค.ศ. 1733–52พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งสหภาพ
ประวัติศาสตร์
 - ก่อตั้งราชวงศ์ค.ศ. 1485
 - เอกราชจากอังวะ16 ตุลาคม ค.ศ. 1510
 - เริ่มจักรวรรดิตองอูค.ศ. 1510 – ค.ศ. 1599
 - ฟื้นฟูจักรวรรดิตองอูค.ศ. 1599 – ค.ศ. 1752
 - ราชวงศ์ล่มสลาย23 มีนาคม ค.ศ. 1752
พื้นที่
 - ค.ศ. 15801,550,000 ตร.กม. (598,458 ตารางไมล์)
 - ค.ศ. 1650750,000 ตร.กม. (289,577 ตารางไมล์)
ประชากร
 - ค.ศ. 1580 ประมาณการ6,000,000 
     ความหนาแน่น3.9 คน/ตร.กม.  (10 คน/ตารางไมล์)
 - ค.ศ. 1650 ประมาณการ3,000,000 
     ความหนาแน่น4 คน/ตร.กม.  (10.4 คน/ตารางไมล์)
สกุลเงินจัต
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรอังวะ
อาณาจักรหงสาวดี
รัฐฉาน
ล้านนา
สยาม
ล้านช้าง
มณีปุระ
ราชวงศ์คองบอง
สยาม
ล้านช้าง
มณีปุระ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
ชุดบทความประวัติศาสตร์พม่า
WikiProject Burma (Myanmar) peacock.svg
ประวัติศาสตร์พม่ายุคต้น
นครรัฐปยู
(ประมาณ พ.ศ. 443 – ประมาณ พ.ศ. 1383)
อาณาจักรมอญ
(พศว. 14 – 16, พศว. 18 – 21, พศว. 23)
อาณาจักรพุกาม
(พ.ศ. 1392 – 1830, อาณาจักรยุคที่ 1)
อาณาจักรอังวะ (พ.ศ. 1907 – 2098)
อาณาจักรมเยาะอู (พ.ศ. 1977 – 2327)
ราชวงศ์ตองอู
(พ.ศ. 2029 – 2295, อาณาจักรยุคที่ 2)
ราชวงศ์คองบอง
(พ.ศ. 2295 – 2428, อาณาจักรยุคที่ 3)
สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367 – 2369)
สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สอง ( พ.ศ. 2395)
สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม (พ.ศ. 2428)
พม่าของอังกฤษ
(พ.ศ. 2367 – พ.ศ. 2485, พ.ศ. 2485 – 2491)
อาระกันของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395)
ตะนาวศรีของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395)
พม่าตอนล่างของอังกฤษ (พ.ศ. 2395 – 2429)
พม่าตอนบนของอังกฤษ (พ.ศ. 2428 – 2429)
การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485 – 2488)
ขบวนการชาตินิยมในพม่า (หลัง พ.ศ. 2429)
บามอว์
ออง ซาน
ยุคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2491 - 2505)
อู นุ และอู ถั่น
รัฐบาลทหารครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2505 – 2532)
เน วิน
การก่อการปฎิวัติ 8888 (พ.ศ. 2531)
ออง ซาน ซูจี
รัฐบาลทหารครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2532 – 2554)
การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ (พ.ศ. 2550)
พายุหมุนนาร์กิส (พ.ศ. 2551)
ความขัดแย้งภายในพม่า
เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555
[แก้ไขแม่แบบนี้]
ราชวงศ์ตองอู (อังกฤษToungoo Dynastyพม่าတောင်ငူခေတ်, [tàuɴŋù kʰɪʔ]) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน
พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปรพะสิม อังวะยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า
ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มน้ำอิระวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี
ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์
ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่ฉานอยุธยาล้านช้างกัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ"
แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป
และภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูก็ยังได้สืบราชสมบัติต่อมา แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เข้มแข็งพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกอบกู้อาณาจักรขึ้นมา แม้นจะมีความพยายามจากพระเจ้าอโนเพตลุน ราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันว่า "ยุคนยองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้ว มอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา
ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2142 คือตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเมงจีโยจนถึงพระเจ้านันทบุเรง และราชวงศ์ตองอูตอนปลายหรือยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2140 - พ.ศ. 2295 ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้านยองยานจนถึงการสถาปนาอำนาจขึ้นมาของพระเจ้าอลองพญา

ลำดับกษัตริย์ในราชวงศ์ตองอู[1][แก้]

ลำดับที่พระฉายาลักษณ์พระนามระยะเวลาในราชสมบัติ
1No image.pngพระเจ้าเมงจีโยพ.ศ. 2029 - 2074
2Tabinshwehti Nat.jpgพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้พ.ศ. 2074 - 2094
3Bayinnaung.JPGพระเจ้าบุเรงนองพ.ศ. 2094 - 2124
4No image.pngพระเจ้านันทบุเรงพ.ศ. 2124 - 2142
5No image.pngพระเจ้านยองยานพ.ศ. 2142 - 2148
6No image.pngพระเจ้าอโนเพตลุนพ.ศ. 2148 - 2171
7No image.pngพระเจ้ามินแยไดกปาพ.ศ. 2171 - 2172
8No image.pngพระเจ้าทาลุนพ.ศ. 2172 - 2191
9No image.pngพระเจ้าพินดาเลพ.ศ. 2191 - 2204
10No image.pngพระเจ้าปเยพ.ศ. 2204 - 2215
11No image.pngพระเจ้านราวาระพ.ศ. 2215 - 2216
12No image.pngพระเจ้ามังกะยอดินพ.ศ. 2216 - 2241
13No image.pngพระเจ้าสเน่ห์มินพ.ศ. 2241 - 2257
14No image.pngพระเจ้าทนินกันเวพ.ศ. 2257 - 2276
15No image.pngพระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดีพ.ศ. 2276 - 2295

อ้างอิง[แก้]

  • Victor B. Lieberman, "Burmese Administrative Cycles: Anarchy and Conquest, c. 1580–1760", Princeton University Press, 1984.


**********************************************


03.

04.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น